ReadyPlanet.com
ไอนานเกิน 2 สัปดาห์ สาเหตุมาจากหลายโรค

สาเหตุของอาการไอนานเกิน 2 สัปดาห์

 1. วัณโรคปอด

          มักพบในคนวัยกลางคนขึ้นไป หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ (เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นเอดส์ เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง ขาดอาหาร พิษสุราเรื้อรัง ผู้ติดยาเสพติด คนชรา ผู้ที่ตรากตรำงานหนัก เป็นต้น) หรือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดเป็นระยะยาวนาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง (อาจไอมีเสมหะหรือไม่มีก็ได้) ร่วมกับไข้เรื้อรังนานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือเป็นแรมเดือน และอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย บางรายอาจไอออกเป็นเลือดสด เจ็บหน้าอกหรือหอบเหนื่อย

 2. มะเร็งปอด

          มักพบในคนวัยกลางคนขึ้นไป ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง (อาจไอมีเสมหะหรือไม่มีก็ได้) อาจไอออกเป็นเลือดสด บางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือมีไข้ร่วมด้วย ผู้ป่วยมักมีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน แต่บางรายอาจไม่มีประวัติสูบบุหรี่ก็ได้

 3. ถุงลมปอดโป่งพอง

          มักพบในวัยกลางคนขึ้นไปและมีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอแบบมีเสมหะเรื้อรัง และหอบเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเวลาออกแรงทำกิจกรรมต่าง ๆ

 4. หืด

          พบได้ตั้งแต่วัยเด็ก มักมีอาการไอร่วมกับหายใจหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงดังวี้ด เมื่อสัมผัสถูกสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งกระตุ้น เช่น ไรฝุ่นบ้าน (พบตามที่นอน หมอน ผ้าห่ม พรม เฟอร์นิเจอร์ ของเล่นที่ทำด้วยนุ่นหรือเป็นขน ๆ) เชื้อรา (พบสปอร์ตามความเย็น (เช่น อากาศเย็น แอร์เย็น) การออกกำลังกาย

          สำหรับสาเหตุข้อ 1-4 ดังกล่าว หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว





          ส่วนสาเหตุข้อ 5-8 ต่อไปนี้ ผู้ป่วยมักมีสุขภาพโดยทั่วไปดี กินได้ น้ำหนักไม่ลด ไม่หอบเหนื่อย

 5. หลอดลมอักเสบ

          มักพบหลังเป็นไข้หวัด ช่วงแรกมักไอมีเสมหะ (อาจเป็นสีขาว สีเขียวหรือสีเหลือง) บางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย เมื่ออาการไข้ทุเลาและเสมหะลดน้อยลงและเปลี่ยนเป็นสีขาว (ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะมาแล้ว) ผู้ป่วยจะมีอาการไอแบบระคายคอ อาจมีเสมหะเล็กน้อยเป็นสีขาวหรือใส ๆ หรืออาจไอแบบไม่มีเสมหะ มักจะไอมากเวลาถูกสิ่งระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ฝุ่นละออง ลมที่พัดใส่ อากาศเย็น เป็นต้น อาการจะค่อย ๆ ทุเลา กว่าจะหายขาด อาจใช้เวลา 1-3 เดือน

 6. โรคภูมิแพ้

          มักมีอาการคันจมูก คันคอ ไอ จาม บางรายมีน้ำมูกใส ๆ ร่วมด้วย มักมีอาการเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่นละอองเกสร ขนสัตว์ อากาศเย็น เป็นต้น อาการจะทุเลาเมื่อกินยาแก้แพ้ และกำเริบอีกเมื่อหยุดยา

 7. โรคกรดไหลย้อน

          มักพบในวัยกลางคนขึ้นไป (แต่ก็อาจพบในวัยหนุ่มสาวได้) มักมีอาการไอแห้ง ๆ หลังตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังกินอาหารเกือบทุกมื้อ ไอเรื้อรังทุกวันนานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือแรมเดือน โดยที่สุขภาพแข็งแรงดี บางรายอาจมีอาการแสบคอ หรือเสียงแหบช่วงหลังตื่นนอน พอสาย ๆ ทุเลาไปเอง บางรายอาจมีอาการแสบอก จุกอก หรือแสบจุกคอ

 8. ผลข้างเคียงจากยาลดความดันกลุ่มต้านเอช (ACE inhibitors) เช่น อีนาลาพริล (enalapril)

          มักมีอาการไอแห้ง ๆ บ่อย ๆ ทุกวันเรื้อรังเป็นสัปดาห์ ๆ หรือแรมเดือน โรคที่สุขภาพแข็งแรงดี บางรายอาจไอจนปัสสาวะเล็ด ภาวะนี้พบได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยหญิง แทบทุกคนเคยพบว่าหลังจากเป็นไข้หวัด ในบางครั้งจะมีอาการไอโครก ๆ นานเป็นแรมเดือน น่ารำคาญ ทำอย่างไรก็ไม่ยอมหายดังใจอยาก ในที่สุดก็ค่อย ๆ ทุเลาไปเอง บางครั้งอาจไอนานถึง 3 เดือน (จนมีการเรียกขานว่า "ไอ 3 เดือน")

          บางคนกังวลใจ ขอให้หมอตรวจนั่นตรวจนี่มากมาย กรณีนี้เกิดจากมีหลอดลมอักเสบแทรกซ้อน ทำให้เยื่อบุหลอดลม อ่อนแอลงและระคายเคืองง่ายเมื่อสัมผัสสิ่งระคายเคือง (เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ฝุ่นละออง ลมที่พัดใส่ อากาศเย็น เป็นต้น) เยื่อบุหลอดลมกว่าจะฟื้นตัวแข็งแรงได้สนิทใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน ขึ้นกับสุขภาพของแต่ละคน ระหว่างที่ยังไม่พื้นหายดี ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคือง และถ้าไอมาก หมอก็จะให้กินยาแก้ไอบรรเทาจนกว่าร่างกายจะฟื้นตัวดี

          อาการ ดังกล่าวแตกต่างจากโรคภูมิแพ้ โดยที่โรคหลอดลมอักเสบจะมีอาการกำเริบนาน ๆ สักครั้ง ซึ่งมักจะมีอาการของไข้หวัดนำมาก่อน และจะไอแบบระคายคอ ไม่มีอาการจาม คันคอ คันจมูก ส่วนโรคภูมิแพ้จะมีอาการกำเริบอยู่เรื่อย ๆ เวลาสัมผัสถูกสารก่อภูมิแพ้ หรือเป็นตรงฤดูกาล (เช่น หน้าหนาว หน้าเกี่ยวข้าว) ทุกปี มักมีอาการจาม คันคอ คันจมูกมีน้ำมูกใส ๆ ไหลร่วมด้วย และมักทุเลาเมื่อกินยาแก้แพ้ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีอาการห่างหายไปได้เมื่อ สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ

          ส่วน ผู้ที่ไม่มีลักษณะอาการดังกล่าวข้างต้น หากไอมากตอนหลังตื่นนอน หรือหลังกินอาหารแทบทุกมื้อทุกวันติดต่อกันเป็นแรมเดือน โดยที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี อาจเกิดจากโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากกล้าม เนื้อหูรูดตรงปลายหลอดอากรหย่อนสมรรถภาพ ไม่สามารถอุดกั้นน้ำย่อย (มีฤทธิ์เป็นกรด) ในกระเพาะอาหารได้ จึงปล่อยให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารและทางเดินหายใจส่วนต้น กระตุ้นให้เกิดอาการต่าง ๆ รวมทั้งอาการไอเรื้อรัง

          หากสงสัย ควรปรึกษาแพทย์ เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้จริงและได้รับการรักษาด้วยยาลดการสร้างกรด อาการไอก็จะดีขึ้น

          ในวัยกลางคนและวัยสูงอายุที่เป็นโรคความดันเลือดสูง หากได้รับยาลดความดันกลุ่มต้านเอช (เช่น อีนาลาพริล) ก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ประหลาดกว่ายากลุ่มอื่น คือ ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังทุกวัน นานเป็นแรมเดือนพบได้ประมาณร้อยละ 25 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีเพศ บางรายหมอไม่ได้บอกเตือนล่วงหน้า ผู้ป่วยและญาติก็ไม่ได้เอะใจว่าเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่ใช้ เห็นไอผิดปกติ กลัวว่าจะเป็นโรคปอด จึงไปตรวจที่โรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่งที่ไม่ทราบประวัติการรักษาของผู้ป่วย และหมอก็ไม่ได้สอบถามการใช้ยาชนิดนี้ หมอจึงตรวจนั่นตรวจนี่มากมายเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติคลายกังวลสิ้นเปลืองเงิน ไปหลายสตางค์ ในที่สุดก็พบว่าเกิดจากยานี้

          ดังนั้น ผู้ป่วยวัยกลางคนหรือสูงอายุที่เป็นโรคความดันเลือดสูง หากจู่ ๆ มีอาการไอเรื้อรัง อย่าลืมคิดถึงสาเหตุข้อนี้ และควรกลับไปปรึกษาแพทย์คนเติมที่ให้การรักษาอยู่ก่อน อย่าเปลี่ยนแพทย์ให้เกิดความยุ่งยาก เมื่อแพทย์พบว่าเกิดจากสาเหตุนี้จริง ก็จะได้ปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสม



 ครอบครัวโรคปอด

          ชายหนุ่มวัย 30 ปีเศษ มีอาชีพขับรถให้นายจ้างวันหนึ่งมาปรึกษาหมอด้วยอาการไข้ ไอมีเสมหะเหลืองมา 4 วัน หมอวินิจฉัยว่าเป็นหลอดลมอักเสบเฉียบพลันก็ให้ยาแก้ไข้ และยาปฏิชีวนะ-อะม็อกซีซิลลินไปกินนัดมาติดตามผลอีก 3 วัน อาการไข้ไม่ลด กลับไอมากขึ้นและเริ่มมีอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลด

          คราว นี้หมอไม่นิ่งนอนใจ เพราะคิดว่าอาจเป็นอะไรที่มากไปกว่าหลอดลมอักเสบแน่ ๆ และก็คิดว่าอาจเป็นโรคปอดก็ได้ จึงส่งไปตรวจเอกซเรย์ปอดและตรวจเสมหะก็พบว่าเป็นโรคปอดจริง ๆ จึงได้ให้ยารักษาวัณโรค 3-4 ชนิดตามสูตรมาตรฐาน ประมาณ 2 สัปดาห์ต่อมาโรคก็ทุเลา ได้ให้ยาจนครบ 6 เดือน

          คนไข้เช่าห้องแคบ ๆ ไม่มีหน้าต่าง อยู่กับภรรยากับลูกชายอายุ 3 ขวบ แนะนำให้พาทั้ง 4 คนไปตรวจที่โรงพยาบาล หมอพบว่า ลูกชายมีความเสี่ยงสูง จึงให้ยาลูกชายกินป้องกันอยู่นานเป็นปี ซึ่งก็เป็นปกติดีมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ส่วนภรรยา หมอเอกซเรย์ปอดแล้วไม่พบรอยโรค จึงไม่ได้ให้การรักษาใด ๆ

          หลังจากนั้น 2 ปี ภรรยามีอาการไข้ และไอมีเสมหะแบบเดียวกับคนไข้ ให้ยาปฏิชีวนะกินอยู่ 1 สัปดาห์ไม่ได้ผล เมื่อส่งเอกซเรย์ปอดและตรวจเสมหะ ก็พบว่าเป็นโรคปอดตามรอยสามี ได้ให้ยารักษาสูตรเดียวกันจนหายดี

 ไอเรื้อรังอาจไม่ใช่เรื่องธรรมดา

          แม้ว่าผู้ที่มีอาการไอนานเกิน 2 สัปดาห์ส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุที่ไม่ร้ายแรง แต่บางรายก็อาจเกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรง เช่น วัณโรคปอด มะเร็งปอดถุงลมปอดโป่งพอง โรคหืด เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้เรื้อรัง ไอเป็นเลือด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก เป็นต้น

          และแม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติดังกล่าว แต่ให้การดูแลรักษาขั้นแรกมา 1-2 สัปดาห์แล้วไม่ทุเลา ก็อาจเกิดจากสาเหตุที่ไม่ธรรมดา (เช่น วัณโรคปอด มะเร็งปอดระยะแรก) ก็ได้ (ดูกรณีตัวอย่าง "ครอบครัวโรคปอด")

 บทสรุป

          ผู้ที่มีอาการไอนานเกิน 2 สัปดาห์ควรรีบปรึกษาแพทย์ ถ้าพบอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

           1. มีไข้เกิน 7 วัน

           2. น้ำหนักลด

           3. ไอเป็นเลือด

           4. หอบเหนื่อย

           5. อ่อนเพลีย

           6. เบื่ออาหาร

           7. เจ็บหน้าอก

           8. มีความวิตกกังวล

           9. ให้การดูแลเบื้องต้นแล้วไม่ทุเลา




สุขภาพ

เทคนิคโพสต์ท่าให้ดูผอม แค่ขยับนิด ชีวิตก็เปลี่ยน ผอมลงเห็นๆ! article
ดูแลสุขภาพของลูกน้อยง่าย ๆ ด้วยอาหารเช้า
สารพัดวิธีรักษาไข้หวัดจากธรรมชาติ ดีจริงหรือไม่ เช็กด่วน
อาหารต้านมะเร็ง 5 ชนิด ทานป้องกันโรคร้าย
เคล็ดลับการดูแลผิว สำหรับทุก ๆ วัน article
10 สุดยอดเทคโนโลยีเพื่อความงาม
ขยี้ตาบ่อย ทำให้เกิดริ้วรอยจริงหรือ... ?
เทรนด์แต่งหน้า 2015 สไตล์ไหนมาแรง เช็กด่วน ! article
ผิวแห้ง กับพฤติกรรม 5 ข้อที่รู้แล้วเลี่ยงด่วน !
หลากข้อดีจาก เซ็กส์ ต่อสุขภาพที่ผู้ชายควรรู้
น้ำผึ้งล้างหน้าเวิร์คจริงป่ะ ? มาดูผลการทดลองกัน
แต่งหน้ารับปริญญาแบบไม่ง้อช่าง สวยด้วย ! ประหยัดด้วย !
ตะไคร้ กับ 3 ประโยชน์ที่ช่วยในเรื่องความงาม
น้ำนม กับ 5 คุณประโยชน์ช่วยผิวสวย
กินมะละกอผิวสวย สารพัดประโยชน์เนียนใสจากภายในสู่ภายนอก
มันฝรั่ง กับ 7 สูตรเด็ดบำรุงผิวพรรณและเส้นผม
เตรียมผิวพร้อมรับหน้าหนาว ด้วยหลายทริคสุดแจ๋ว article
กำจัดสิวแบบเร่งด่วน ด้วยวิธีธรรมชาติ article
7 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับอาหารที่คนลดความอ้วนหลงเชื่อ
ไปเล่นโยคะหัวเราะกันเถอะ!
ถุงยาง แบบที่คุณผู้ชายต้องลอง
โยเกิร์ต กับ 6 คุณประโยชน์ในด้านความงาม article
สธ. สั่งทุกโรงพยาบาลสำรองเซรุ่มแก้พิษงู 7 ชนิด ช่วงหน้าฝน article
อีโบลา เจาะลึกไวรัสมรณะที่โลกหวาดกลัว
สีแดงกับสมอง ความเชื่อมโยงอันน่าอัศจรรย์ที่คุณไม่เคยรู้
ประโยชน์ของน้ำมะนาว ดื่มอุ่น ๆ ยามเช้า ดีแค่ไหนต้องพิสูจน์
อยากลดน้ำหนัก แต่ติดขนมหวาน ทำไงดี
5 อาหารดี ๆ ที่กินเยอะไป ก็ไม่ดีได้เหมือนกัน
ดูฟุตบอลโลกอย่างไร ไม่ทำร้ายสุขภาพ article
ผื่นยอดฮิตที่พบบ่อยในฤดูฝน article
โกรธเมื่อไร หลีกให้ไกล 10 พฤติกรรมนี้
9 สูตรลดน้ำหนัก วิธีลดความอ้วน สำหรับสาวอยากผอม article
สธ. เตือนกินไข่แมงดาทะเลเผา-ยำหน้าร้อนเสี่ยงตาย
หลากวิตามินพิชิตเบาหวาน หยุดน้ำตาลพุ่งสูง ก่อนสายเกินแก้
เทคนิคกินผักให้อร่อย ทั้งปลอดภัย ทั้งได้คุณค่า
อยากอ่อนเยาว์ดื่มนมถั่วเหลืองสิ
ผลไม้ลดน้ำหนัก 13 ตัวช่วย อยากหุ่นสวยกระชับห้ามพลาด
วิ่ง เริ่มจากความพร้อม สู่เส้นทางสุขภาพดี
ร้อนนี้กินอย่างไร เย็นทั้งกาย สุขทั้งใจ article
วิธีไล่ยุงแบบธรรมชาติ ด้วยมาตรการปลอดภัย article
รู้หรือไม่ ยาคุมฉุกเฉิน กินพร้อมกัน2เม็ดได้ article
รักอย่างไร ถึงเรียกว่า รักเป็น article
‘วิ่ง’ เริ่มจากความพร้อม สู่เส้นทางสุขภาพดี
12 ไอเดียเปลี่ยนน้ำแข็งแนวใหม่ให้ไฉไลกว่าเดิม article
ขนมหวานไทย ๆ เลือกกินอะไร ไม่ให้แคลอรี่พุ่งปรี๊ด article
เปิดปีเริ่ด ๆ ด้วย 6 วิธีสู่ความแฮปปี้กว่าเดิม
เคล็ดลับดูแลสุขภาพให้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่
ใช้ชีวิตอย่างไร ให้หัวใจแข็งแรง
ร่างกาย-รถ-อุปกรณ์พร้อม...เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง article
วาซาบิความเผ็ดที่มีประโยชน์
ไวรัสโรต้า" ระบาดหน้าหนาว เสี่ยงท้องร่วงทุกวัย
กระเช้าปีใหม่ เลือกอย่างไร ให้ดีต่อสุขภาพคนรับ article
แนะหากเครียดควรปรับทุกข์กับคนใกล้ชิด
หยุดเอดส์! ต้องมองเรื่อง 'เพศ' อย่างเข้าใจ
6 ความเชื่อผิด ๆ เรื่องสุขภาพกับหน้าหนาว
3 ประโยชน์เลิศของโยเกิร์ต ไม่ได้โม้ !
ไม่ใช่วัยรุ่น ฮอร์โมนก็ป่วนได้นะ !
นอนดึกแก่ไว เรื่องจริงไม่ได้โม้ !!
แนะวิธีเลือกซื้อนมพร้อมดื่ม ป้องกันนมบูดก่อนบริโภค
ขับไล่ความเหนื่อยล้าด้วย 7 วิธีผ่อนคลายหลังเลิกงานของสาว ๆ
ความสวยยังเพิ่มได้ แล้วความสูงเพิ่มได้ไหม ?! article
ยาลดความอ้วนสูตรค็อกเทล อย. สั่งห้ามขาย ชี้อันตรายถึงชีวิต
เบต้าแคโรทีน เพื่อหัวใจและสุขภาพที่แข็งแรง
ใส่ใจการกินสักนิด พิชิตมะเร็งเต้านม
สธ. เตือน 6 โรคหน้าหนาว ระวังดื่มเหล้าคลายหนาว อันตรายถึงชีวิต article
เตือน ! ระวังป่วยโรคปอดบวม ช่วงปลายฝนต้นหนาว article
9 สุดยอดอาหารชวนให้ สดชื่น อารมณ์ดี article
9 เมนูฮิตครองใจคนทำงาน กินแบบไหนถึงสุขภาพดี article
กินดีรักษาสิวได้ ด้วยวิธีกินรักษาสิวให้หายใน 2 สัปดาห์
10 เคล็ดลับ...หลับปุ๋ย แก้ปัญหานอนไม่หลับ
พื้นที่ส่วนตัวของผู้หญิง...เรื่อง (ไม่) ลับที่คุณต้องรู้ !
8 ประโยชน์เจ๋ง ๆ จากเปลือกผักและผลไม้
เปลี่ยนกับข้าว ให้เป็นงานอาร์ตชั้นเอก ได้สุขภาพ article
สภากาชาดขาดเลือดด่วนช่วงน้ำท่วม article
อยู่พอเพียง บริโภคพอดี’ สู่ความมั่นคงทางอาหาร
แนะ 7 ขั้นตอนล้างมืออย่างถูกวิธี
หลักออกเจอย่างถูกวิธี ทานอาหารอย่างไรดีต่อสุขภาพ
สารพัดวิธีกินผักแบบเนียน ๆ อร่อยไม่ฝืนใจแถมได้ประโยชน์
ป้องกันและดูอาการเชื้อไวรัสชนิด A สายพันธุ์ H1N1
เคล็ดลับการถนอมดวงตาให้สวยสดใส
วิธีง่าย ๆ ในการเผาผลาญแคลอรีนอกยิม
เคล็ดลับการกินเพื่อให้มีรูปร่างเหมือนนายแบบ
'ผื่นภูมิแพ้-น้ำกัดเท้า' แก้ได้...แม้ 'ฝนตก'
โปรตีนเกษตรในอาหารเจรู้ไมทำมาจากอะไร
ปราบกลิ่นเท้าให้อยู่หมัด
รักษาอาการไอแบบไม่พึ่งยา ด้วยธรรมชาติบำบัด
สาธารณสุขชี้ คนไทยเตี้ย เพราะดื่นนมน้อย
ยุคของแพง กินอย่างไร ได้ประโยชน์และสุขภาพดี
อึ้ง ! แท็บเล็ต-สมาร์ทโฟนเชื้อโรคอื้อ มากกว่าโถชักโครก 20 เท่า
ท้องอืดท้องเฟ้อบ่อยๆ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
ยิ่งเดิน ยิ่งดีต่อสุขภาพ
น้ำหนักควบคุมได้ ทำไมต้องพึ่งยาลดความอ้วน
เรื่องของยาแก้ไข้ ใช้ตัวไหนปลอดภัยที่สุด
โคเอนไซม์ คิว 10 กินกันไปทำไม?
ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ article
มือชา อาการไม่ธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นกับคุณ
4 สิ่งเหล่านี้...อาจไม่ดีต่อจุดซ่อนเร้นสาว ๆ นะจ๊ะ
ดื่มซะให้สวย กับ 5 เครื่องดื่มเพื่อผิวสวยใส สุขภาพดี
ผิวสวยด้วยการกิน กับ 10 อาหารเพิ่มความนุ่มสวยใส