ReadyPlanet.com
โปรตีนเกษตรในอาหารเจรู้ไมทำมาจากอะไร

 

 
 

     โปรตีนเกษตรเป็น ผลิตภัณฑ์ทางอาหารที่มีการผลิตขึ้น โดยนำแป้งถั่วเหลืองมาสกัดเอาไขมันออกจนแทบไม่เหลือ ซึ่งเรียกเป็นภาษาวิชาการว่าแป้งดีแฟต (Defat flour) นำเอามาผ่านกระบวนการผลิตโดยวิธีเอ็กซทรูชั่น (Extrusion cooking process) จะทำให้ได้โปรตีนเกษตรที่มีปริมาณโปรตีนถึง 49.74%   ไขมัน 0.26%   คาร์โบไฮเดรท 37.20% และคุณภาพโปรตีนของโปรตีนเกษตรนั้นใกล้เคียงกับเคซีน ซึ่งเป็นโปรตีนในน้ำนมวัว

 

     นอกจากนั้นยังมีผลการศึกษาในฮ่องกงที่ส่งเสริมการกินถั่วเหลือง ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนกินเจด้วย โดยการศึกษาไอโซฟลาโวน สารเคมีที่พบในถั่วเหลือง ถั่วเขียวเลาะเปลือกออก และถั่วฝักยาว พบว่าช่วยให้หลอดเลือดแดงของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทำงานดีขึ้น

 

     คณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยฮ่องกงเผยในเว็บไซต์วารสารหัวใจยุโรปว่า ได้ศึกษาเพื่อหาว่าไอโซฟลาโวนที่เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้ผลต่อหลอดเลือด แดงอย่างไร นับเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาเรื่องนี้ พวกเขาให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 50 คน รับประทานไอโซฟลาโวนที่เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวันละ 80 มิลลิกรัม นาน 12 สัปดาห์ อีก 50 คน รับประทานยาหลอก หลังจากนั้นใช้เครื่องอัลตราซาวด์ตรวจการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดงบริเวณต้นแขน หลังจากคลายสายรัดต้นแขนได้ 1 นาที พบว่ากลุ่มที่รับประทานไอโซฟลาโวนที่เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เลือดไหลเวียนดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มหลัง การที่เลือดในหลอดเลือดแดงบริเวณต้นแขนไหลเวียนดี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประเภทหลอดเลือดอุดตัน

 

     อย่าง ไรก็ดีคณะนักวิจัยออกตัวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะออกคำแนะนำทางการแพทย์ให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรับ ประทานไอโซฟลาโวนที่เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพราะยังไม่ทราบว่าการรับประทานในระยะยาวให้ผลดีและผลข้างเคียงอย่างไร ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดยังคงเป็นการรับประทานอาหารให้สมดุล อาหารที่มีถั่วเหลืองมากอาจเป็นประโยชน์ เพราะมีสารไอโซฟลาโวน นอกจากนี้ยังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสูง มีเส้นใย วิตามิน และมีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ

 

      ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ หัวหน้าฝ่ายพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงผลการวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารเจที่ทำจาก โปรตีนถั่วเหลือง หรือกลูเตนจากแป้งสาลี ซึ่งผลิตเป็นอาหารประเภท ไส้อั่ว ไส้กรอก ปลาเค็ม และลูกชิ้น สามารถก่อกลายพันธุ์ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้หรือไม่ จากการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์อาหารทั้ง 4 ชนิดดังกล่าว ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ แต่ในทางตรงกันข้ามสามารถลดฤทธิ์ก่อการกลายพันธุ์ได้ นอกจากนี้ ยังอาจช่วยยับยั้งหรือลดความเสี่ยงในการก่อกลายพันธุ์ได้ โดยช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเอนไซม์ที่ทำลายสารพิษได้

 
 ที่มาของชื่อ"โปรตีนเกษตร"
 

  ศาสตราจารย์ อมร ภูมิรัตน์ ผู้ริเริ่มโครงการ มีปณิธานที่จะช่วยเหลือให้เด็กไทยทุกคนพ้นจากภาวะทุพโภชนาการ ให้มีการกินดี และมีสุขภาพแข็งแรง อาหารเสริมโปรตีนที่ทำมาจากผลิตผลทางการเกษตรจะมีบทบาทสำคัญที่สามารถช่วย แก้ปัญหาทุพโภชนาการ จึงได้ทำการศึกษาค้นคว้า ร่วมกับนักวิจัยของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีน โดยใช้ผลิตผลทางการเกษตรที่มีอยู่มากและหาได้ง่ายภายในประเทศ และมีราคาถูก ได้แก่ ถั่วเหลือง โปรตีนจากถั่วเขียวซึ่งเป็นผลพลอยได้จากโรงงานทำวุ้นเส้น ถั่วลิสง งา เมล็ดทานตะวัน และข้าว รวมทั้งใช้ปลาป่น เพื่อให้ได้โปรตีนจากปลา และ ใช้เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสอื่น ๆ กับสารอาหารบางตัวที่จำเป็น

 

     โปรตีนพืชที่ผลิตโดยวิธีเอ็กซทรูชั่นจำต้องมีชื่อใหม่เพื่อผู้บริโภคจะได้ทราบว่า ทางสถาบันฯได้พัฒนาโปรตีนที่ดีกว่าเดิมประจวบกับขณะนั้นมีการวิจัยเรื่องความเป็นไปได้ของตลาดอาหารเสริมโปรตีนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงได้มีการสอบถามเกี่ยวกับชื่อของผลิตภัณฑ์ว่าควรจะใช้ชื่ออะไรจึงจะสื่อความหมายได้ดีถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ซึ่งจากการสอบถามก็ได้ชื่อมาเป็นจำนวนมากพอสมควรแต่ชื่อที่ได้รับความนิยมมากมี 3 ชื่อ ได้แก่ เนื้ออนามัย เนื้อสำเร็จรูป และเนื้อเกษตรคิดเป็นร้อยละ 32 24 และ 13 ซึ่งยังไม่มากเพียงพอ และไม่สามารถจะให้สื่อความหมายได้ชัดเจนจึงได้ทบทวนชื่อเดิมคือ "เกษตรโปรตีน" ซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่าKASET PROTEIN และคำนึงว่าชื่อใหม่ของผลิตภัณฑ์ต้องไม่ห่างไกลจากชื่อเดิมมากนักในที่สุดก็ใช้ชื่อที่แปลตรงตัวจากภาษาอังกฤษ คือ "โปรตีนเกษตร" นอกจากนั้นยังสื่อความหมายได้ว่าเป็นโปรตีนที่ได้มาจากผลิตผลการเกษตรอีกด้วย

 

"เกษตรโปรตีน" โปรตีนเกษตรรุ่นแรก

 

     การค้นคว้าวิจัยและทดลองเพื่อผลิตโปรตีนจากพืชได้เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2512 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2517 รวมระยะเวลาของการค้นคว้าทดลองทำงานวิจัยเป็นเวลา6 ปี ได้โปรตีนเกษตรสูตรต่าง ๆ มากมาย ประมาณ 30 ชนิด ทั้งชนิดใส่โปรตีนจากปลาและไม่ใส่โปรตีนจากปลา

 

     กรรมวิธีการผลิตเกษตรโปรตีนเป็นแบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานบวกกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีทางอาหาร วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ โปรตีนสกัดจากถั่วเขียว แป้งถั่วเหลืองชนิดมีไขมันเต็ม ดีแอลเมทไธโอนิน เกลือไอโอไดต์ วิตามินรวม โซเดียมคาร์บอเนต และสารละลายกรดเกลือ 3 % เมื่อผสมด้วยกันในเครื่องผสม (Dough Mixer) จะได้ส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกัน สามารถนำมาเกลี่ยบนถาดและตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ทำให้แห้งโดยใช้ตู้อบ หากนำมาตีป่นหยาบ ๆ จะได้เกษตรโปรตีนแห้งแบบเนื้อสับ

 
         จุดเปลี่ยน  "เกษตรโปรตีน"  ไปเป็น  "โปรตีนเกษตร"
 

     การผลิตเกษตรโปรตีนพบว่ายังมีจุดอ่อนหรือข้อด้อยอยู่หลายประการได้แก่ อัตราการผลิตต่ำ ใช้เวลามาก คุณภาพไม่คงที่ สีไม่สวย ความหยุ่นไม่สม่ำเสมอดูดซึมน้ำช้า ใช้เวลาต้มนาน การผลิตโปรตีนจากพืชจึงได้พัฒนาจากกรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมมาเป็นแบบ Thermoplastic Extrusion process โดยใช้เครื่องคุกเกอร์เอ็กซทรูเดอร์(Cooker Extruder) ด้วยกระบวนการผลิตที่เปลี่ยนไป วัตถุดิบที่นำมาใช้จึงต้องเปลี่ยนไปด้วยจากที่เคยใช้โปรตีนถั่วเขียวอันเป็นผลพลอยได้จากโรงงานทำวุ้นเส้นกับโปรตีนถั่วเหลืองชนิดเปียก(wet proteins) ก็ต้องเปลี่ยนมาเป็นชนิดแห้งเป็นผงละเอียดและปราศจากไขมัน ได้แก่แป้งถั่วเหลืองสกัดไขมัน (defatted soy flour)

 

    โปรตีนเกษตรที่ผลิตจากกระบวนการผลิตโดยวิธีเอ็กซทรูชั่น(Extrusion cooking process) จะมีปริมาณโปรตีน 49.74% ไขมัน 0.26% คาร์โบไฮเดรท37.20% เถ้า 6.44% ความชื้น 5.26% และเส้นใย (กาก) 1.10% คุณภาพโปรตีนของโปรตีนเกษตรในแง่PER นั้นใกล้เคียงกับเคซีน ซึ่งเป็นโปรตีนในน้ำนมวัว ส่วนการดูดซับน้ำ (rehydration)หรือการคืนตัวสู่สภาพพร้อมปรุงนั้นก็ใช้เวลารวดเร็วกว่าสูตรเก่า กล่าวคือ ถ้าต้มกับน้ำจะใช้เวลาไม่เกิน3 นาที (สูตรเก่าใช้เวลา 20-30 นาที) และถ้าใช้แช่ในน้ำเย็นที่อุณหภูมิห้องจะใช้เวลาน้อยกว่า10 นาที

 
การเติบโตของ  "โปรตีนเกษตร"
 

    การจำหน่ายโปรตีนเกษตรครั้งแรกคือในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2523 ที่ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของสถาบันอาหาร ต่อมาจึงได้ขยายไปตามร้านสหกรณ์กรุงเทพสหกรณ์พระนคร และร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โรงพยาบาลมิชชั่น เป็นต้น ปริมาณการจำหน่ายโปรตีนเกษตรจาก18 ตัน ในปี พ.ศ. 2527 เป็น 100 ตัน ในปี พ.ศ. 2533, 200 ตัน ในปี พ.ศ. 2536และ 300 ตัน ในปี พ.ศ. 2538 และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลเจ

 
     การจำหน่ายโปรตีนเกษตรในแต่ละปีมียอดการจำหน่ายเพิ่มขึ้นซึ่งนับเป็นตัวชี้วัดได้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนที่ทำมาจากพืชนี้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นทุกวัน
 

    ปัจจุบันรูปแบบของโปรตีนเกษตรได้พัฒนาให้หลากหลายยิ่งขึ้นจากเดิมที่มีรูป

 

 

แหล่งข้อมูล http://www.ichumphae.com



สุขภาพ

เทคนิคโพสต์ท่าให้ดูผอม แค่ขยับนิด ชีวิตก็เปลี่ยน ผอมลงเห็นๆ! article
ดูแลสุขภาพของลูกน้อยง่าย ๆ ด้วยอาหารเช้า
สารพัดวิธีรักษาไข้หวัดจากธรรมชาติ ดีจริงหรือไม่ เช็กด่วน
อาหารต้านมะเร็ง 5 ชนิด ทานป้องกันโรคร้าย
เคล็ดลับการดูแลผิว สำหรับทุก ๆ วัน article
10 สุดยอดเทคโนโลยีเพื่อความงาม
ขยี้ตาบ่อย ทำให้เกิดริ้วรอยจริงหรือ... ?
เทรนด์แต่งหน้า 2015 สไตล์ไหนมาแรง เช็กด่วน ! article
ผิวแห้ง กับพฤติกรรม 5 ข้อที่รู้แล้วเลี่ยงด่วน !
หลากข้อดีจาก เซ็กส์ ต่อสุขภาพที่ผู้ชายควรรู้
น้ำผึ้งล้างหน้าเวิร์คจริงป่ะ ? มาดูผลการทดลองกัน
แต่งหน้ารับปริญญาแบบไม่ง้อช่าง สวยด้วย ! ประหยัดด้วย !
ตะไคร้ กับ 3 ประโยชน์ที่ช่วยในเรื่องความงาม
น้ำนม กับ 5 คุณประโยชน์ช่วยผิวสวย
กินมะละกอผิวสวย สารพัดประโยชน์เนียนใสจากภายในสู่ภายนอก
มันฝรั่ง กับ 7 สูตรเด็ดบำรุงผิวพรรณและเส้นผม
เตรียมผิวพร้อมรับหน้าหนาว ด้วยหลายทริคสุดแจ๋ว article
กำจัดสิวแบบเร่งด่วน ด้วยวิธีธรรมชาติ article
7 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับอาหารที่คนลดความอ้วนหลงเชื่อ
ไปเล่นโยคะหัวเราะกันเถอะ!
ถุงยาง แบบที่คุณผู้ชายต้องลอง
โยเกิร์ต กับ 6 คุณประโยชน์ในด้านความงาม article
สธ. สั่งทุกโรงพยาบาลสำรองเซรุ่มแก้พิษงู 7 ชนิด ช่วงหน้าฝน article
อีโบลา เจาะลึกไวรัสมรณะที่โลกหวาดกลัว
สีแดงกับสมอง ความเชื่อมโยงอันน่าอัศจรรย์ที่คุณไม่เคยรู้
ประโยชน์ของน้ำมะนาว ดื่มอุ่น ๆ ยามเช้า ดีแค่ไหนต้องพิสูจน์
อยากลดน้ำหนัก แต่ติดขนมหวาน ทำไงดี
5 อาหารดี ๆ ที่กินเยอะไป ก็ไม่ดีได้เหมือนกัน
ดูฟุตบอลโลกอย่างไร ไม่ทำร้ายสุขภาพ article
ผื่นยอดฮิตที่พบบ่อยในฤดูฝน article
โกรธเมื่อไร หลีกให้ไกล 10 พฤติกรรมนี้
9 สูตรลดน้ำหนัก วิธีลดความอ้วน สำหรับสาวอยากผอม article
สธ. เตือนกินไข่แมงดาทะเลเผา-ยำหน้าร้อนเสี่ยงตาย
หลากวิตามินพิชิตเบาหวาน หยุดน้ำตาลพุ่งสูง ก่อนสายเกินแก้
เทคนิคกินผักให้อร่อย ทั้งปลอดภัย ทั้งได้คุณค่า
อยากอ่อนเยาว์ดื่มนมถั่วเหลืองสิ
ผลไม้ลดน้ำหนัก 13 ตัวช่วย อยากหุ่นสวยกระชับห้ามพลาด
วิ่ง เริ่มจากความพร้อม สู่เส้นทางสุขภาพดี
ร้อนนี้กินอย่างไร เย็นทั้งกาย สุขทั้งใจ article
วิธีไล่ยุงแบบธรรมชาติ ด้วยมาตรการปลอดภัย article
รู้หรือไม่ ยาคุมฉุกเฉิน กินพร้อมกัน2เม็ดได้ article
รักอย่างไร ถึงเรียกว่า รักเป็น article
‘วิ่ง’ เริ่มจากความพร้อม สู่เส้นทางสุขภาพดี
12 ไอเดียเปลี่ยนน้ำแข็งแนวใหม่ให้ไฉไลกว่าเดิม article
ขนมหวานไทย ๆ เลือกกินอะไร ไม่ให้แคลอรี่พุ่งปรี๊ด article
เปิดปีเริ่ด ๆ ด้วย 6 วิธีสู่ความแฮปปี้กว่าเดิม
เคล็ดลับดูแลสุขภาพให้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่
ใช้ชีวิตอย่างไร ให้หัวใจแข็งแรง
ร่างกาย-รถ-อุปกรณ์พร้อม...เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง article
วาซาบิความเผ็ดที่มีประโยชน์
ไวรัสโรต้า" ระบาดหน้าหนาว เสี่ยงท้องร่วงทุกวัย
กระเช้าปีใหม่ เลือกอย่างไร ให้ดีต่อสุขภาพคนรับ article
แนะหากเครียดควรปรับทุกข์กับคนใกล้ชิด
หยุดเอดส์! ต้องมองเรื่อง 'เพศ' อย่างเข้าใจ
6 ความเชื่อผิด ๆ เรื่องสุขภาพกับหน้าหนาว
3 ประโยชน์เลิศของโยเกิร์ต ไม่ได้โม้ !
ไม่ใช่วัยรุ่น ฮอร์โมนก็ป่วนได้นะ !
นอนดึกแก่ไว เรื่องจริงไม่ได้โม้ !!
แนะวิธีเลือกซื้อนมพร้อมดื่ม ป้องกันนมบูดก่อนบริโภค
ขับไล่ความเหนื่อยล้าด้วย 7 วิธีผ่อนคลายหลังเลิกงานของสาว ๆ
ความสวยยังเพิ่มได้ แล้วความสูงเพิ่มได้ไหม ?! article
ยาลดความอ้วนสูตรค็อกเทล อย. สั่งห้ามขาย ชี้อันตรายถึงชีวิต
เบต้าแคโรทีน เพื่อหัวใจและสุขภาพที่แข็งแรง
ใส่ใจการกินสักนิด พิชิตมะเร็งเต้านม
สธ. เตือน 6 โรคหน้าหนาว ระวังดื่มเหล้าคลายหนาว อันตรายถึงชีวิต article
เตือน ! ระวังป่วยโรคปอดบวม ช่วงปลายฝนต้นหนาว article
9 สุดยอดอาหารชวนให้ สดชื่น อารมณ์ดี article
9 เมนูฮิตครองใจคนทำงาน กินแบบไหนถึงสุขภาพดี article
กินดีรักษาสิวได้ ด้วยวิธีกินรักษาสิวให้หายใน 2 สัปดาห์
10 เคล็ดลับ...หลับปุ๋ย แก้ปัญหานอนไม่หลับ
พื้นที่ส่วนตัวของผู้หญิง...เรื่อง (ไม่) ลับที่คุณต้องรู้ !
8 ประโยชน์เจ๋ง ๆ จากเปลือกผักและผลไม้
เปลี่ยนกับข้าว ให้เป็นงานอาร์ตชั้นเอก ได้สุขภาพ article
สภากาชาดขาดเลือดด่วนช่วงน้ำท่วม article
อยู่พอเพียง บริโภคพอดี’ สู่ความมั่นคงทางอาหาร
แนะ 7 ขั้นตอนล้างมืออย่างถูกวิธี
หลักออกเจอย่างถูกวิธี ทานอาหารอย่างไรดีต่อสุขภาพ
สารพัดวิธีกินผักแบบเนียน ๆ อร่อยไม่ฝืนใจแถมได้ประโยชน์
ป้องกันและดูอาการเชื้อไวรัสชนิด A สายพันธุ์ H1N1
เคล็ดลับการถนอมดวงตาให้สวยสดใส
วิธีง่าย ๆ ในการเผาผลาญแคลอรีนอกยิม
เคล็ดลับการกินเพื่อให้มีรูปร่างเหมือนนายแบบ
'ผื่นภูมิแพ้-น้ำกัดเท้า' แก้ได้...แม้ 'ฝนตก'
ปราบกลิ่นเท้าให้อยู่หมัด
รักษาอาการไอแบบไม่พึ่งยา ด้วยธรรมชาติบำบัด
สาธารณสุขชี้ คนไทยเตี้ย เพราะดื่นนมน้อย
ไอนานเกิน 2 สัปดาห์ สาเหตุมาจากหลายโรค
ยุคของแพง กินอย่างไร ได้ประโยชน์และสุขภาพดี
อึ้ง ! แท็บเล็ต-สมาร์ทโฟนเชื้อโรคอื้อ มากกว่าโถชักโครก 20 เท่า
ท้องอืดท้องเฟ้อบ่อยๆ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
ยิ่งเดิน ยิ่งดีต่อสุขภาพ
น้ำหนักควบคุมได้ ทำไมต้องพึ่งยาลดความอ้วน
เรื่องของยาแก้ไข้ ใช้ตัวไหนปลอดภัยที่สุด
โคเอนไซม์ คิว 10 กินกันไปทำไม?
ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ article
มือชา อาการไม่ธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นกับคุณ
4 สิ่งเหล่านี้...อาจไม่ดีต่อจุดซ่อนเร้นสาว ๆ นะจ๊ะ
ดื่มซะให้สวย กับ 5 เครื่องดื่มเพื่อผิวสวยใส สุขภาพดี
ผิวสวยด้วยการกิน กับ 10 อาหารเพิ่มความนุ่มสวยใส