ReadyPlanet.com
โกรธเมื่อไร หลีกให้ไกล 10 พฤติกรรมนี้

    โกรธเมื่อไร หลีกให้ไกล 10 พฤติกรรมนี้




    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

              แค่รู้สึกโกรธก็บั่นทอนสุขภาพไปตั้งเท่าไร และถ้ายิ่งทำพฤติกรรมต้องห้ามยามโกรธเหล่านี้ด้วยแล้ว ก็ยิ่งย่ำแย่ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตเลยนะจ๊ะ ถ้าอย่างนั้นมาศึกษาไว้แล้วเลี่ยงให้ไกลเลยดีกว่า

              ความโกรธไม่ได้ทำให้เราอารมณ์เสียอย่างเดียวแล้วล่ะค่ะ เพราะทางเว็บไซต์ Huffington Post เขาได้หยิบงานวิจัยจากสถาบันสุขภาพมากระซิบบอกเราต่อว่า อารมณ์โกรธในตัวบุคคล อาจส่งผลกระทบไปถึงพฤติกรรม ก่อให้เกิดอันตรายได้มากมาย และยิ่งถ้าทำพฤติกรรมต้องห้ามยามโกรธ 10 พฤติกรรมเหล่านี้ด้วยแล้ว อารมณ์ขุ่นมัวก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทบทวีคูณ เผลอ ๆ ก็อาจจะเจ็บตัวถึงขั้นเลือดตกยางออกได้เชียวนะ
     
    1. อย่านอนหลับไปพร้อมความโกรธ
                
              ก่อนที่เราจะล้มตัวลงนอนหลับ สมองจะประมวลผลอารมณ์และความคิดของเรา ณ ขณะนั้นเอาไว้ในหน่วยความทรงจำ ดังนั้นหากคุณนอนหลับไปพร้อมกับความว้าวุ่นในใจ ความคิดแค้น หรือแม้แต่ความไม่พอใจเล็ก ๆ อารมณ์ในแง่ลบเหล่านี้ก็จะเข้าไปก่อกวนคุณแม้ยามนอนหลับพักผ่อน เปรียบเสมือนตัวกักเก็บอารมณ์โกรธให้ทรงประสิทธิภาพเอาไว้ และในขณะที่ตื่นนอนขึ้นมา ความกรุ่นโกรธก็ยังไม่จางหายไปไหน สร้างความขุ่นมัวต่อเนื่องไปอีกเรื่อย ๆ เลยนะคะ ฉะนั้นก่อนจะล้มตัวลงนอนหลับ ก็ทำใจให้สบาย และปล่อยวางความโกรธเอาไว้ไกล ๆ เลยดีกว่า
     
     
     2. ห้ามขับรถเด็ดขาด
                
              อารมณ์โกรธมักจะทำให้เราหุนหันพลันแล่น และอยู่ในสภาะวะเกือบจะขาดสติ ดังนั้นหากคุณขับรถในขณะที่โกรธ โอกาสเกิดอุบัติโดยไม่คาดฝันก็เป็นไปได้สูงเลยทีเดียว ซึ่งก็สอดคล้องกับงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงเปอร์เซ็นต์การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของคนขับรถในยามโกรธ ที่พุ่งขึ้นสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ขับขี่ในอารมณ์ปกติ เนื่องมาจากวิสัยทัศน์ของคนที่ตกอยู่ในอารมณ์ฉุนเฉียว มักจะด้อยประสิทธิภาพกว่าคนที่มีสภาวะทางอารมณ์มั่นคง จนหลายครั้งก็มองไม่เห็นคนที่เดินอยู่ข้างถนน หรือความโกรธก็ผลักดันให้คุณตัดสินใจฝ่าไฟแดง เป็นต้น
     
     
     3. ระบายอารมณ์แรง ๆ แน่ใจหรือว่าหายโกรธแน่
                  
              บางคนโกรธแล้วชอบทำลายข้าวของ ตะโกนเสียงดัง หรือออกอาการฟึดฟัดน่ากลัว ซึ่งจิตแพทย์ก็อธิบายว่า การระบายความโกรธด้วยพฤติกรรมเหล่านี้ อาจจะช่วยลดระดับอารมณ์ของคุณลงมาได้ แต่กลับไม่ได้ช่วยให้คุณรู้สึกโกรธน้อยลงแต่อย่างใด เผลอ ๆ อาจจะเพิ่มความรู้สึกโกรธในตัวเองให้มากขึ้น ส่งผลเสียระยะยาวต่อนิสัยส่วนตัว และลดทอนความรู้สึกดีต่อคนรอบข้างของคุณไปทีละเล็กละน้อย ทั้งยังอาจเปลี่ยนคุณเป็นคนที่มีนิสัยก้าวร้าวในอนาคตอีกต่างหาก
     

     
     4. โกรธแล้วกิน ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก
                
              สำหรับคนที่ไม่ว่าจะอยู่ในอารมณ์ไหนก็กินแหลก หรือโกรธ เศร้า เหงาก็กิน ต่อไปนี้ลองเปลี่ยนตัวเองใหม่เพื่อสุขภาพที่ไฉไลขึ้นดีกว่า เพราะถ้าลองสังเกตตัวเองสักนิด เราจะเห็นได้เลยว่า อาหารที่เราเลือกกินตอนที่โกรธ หรืออยู่ในสภาวะอารมณ์ที่ไม่ปกติ จะค่อนไปทางอาหารที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น อาหารหวาน ๆ เน้นแป้ง แคลอรี่สูง เป็นต้น นอกจากนี้เราอาจจะไม่รู้ว่า ในยามที่เราโกรธ ระบบในร่างกายก็จะแปรปรวน ทำงานผิดปกติไปด้วย จนบางทีก็เกิดอาการอาหารไม่ย่อย หรือกินอาหารเข้าไปก็เกิดอาการท้องเสีย หรือท้องผูกขึ้นมาซะอย่างนั้น
     

    5. อย่าต่อปากต่อคำ
                
              เชื่อว่าหลายคนเคยเสียใจกับคำพูดของตัวเองในยามโกรธมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย ซึ่งแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า ความโกรธทำให้เราขาดสติ และไม่รู้จักกรองคำพูดของตัวเองให้ดีก่อนเอ่ยวาจาออกไป ฉะนั้นหากไม่อยากเสียใจเพระความปากไวอย่างนั้นอีก ก็เลี่ยงการโต้เถียง หรือต่อปากต่อคำในเวลาที่คุณกำลังรู้สึกโกรธไปเลยดีกว่าเนอะ
     


    6. โพสต์เฟซบุ๊กถึงอารมณ์ในแง่ลบ เรียกคืนไม่ได้แล้วนะ
                
              สังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กเป็นพื้นที่ส่วนตัวของคุณก็จริง แต่การโพสต์ทุกสิ่งอย่างโดยไม่คำนึงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง เช่น โพสต์ข้อความที่แสดงถึงความโกรธ หรือโพสต์ระบายความรู้สึกในแง่ลบลงไป อาจลดคุณค่าของคุณได้ง่าย ๆ เช่นกัน เพราะไม่ว่าใครก็คงไม่อยากได้เห็น หรือได้ยินอะไรที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจหรอกจริงไหม และแม้ว่าคุณจะกดลบข้อความนั้นทิ้งเมื่อได้สติกลับคืนมา ก็ใช่ว่าจะลบความรู้สึกของเพื่อนที่เห็นโพสต์นี้ลงไปด้วยได้นะคะ
     


     7. ส่งอีเมลระบายอารมณ์
               
               มีคนจำนวนไม่น้อยที่ชอบระบายความอัดอั้นตันใจด้วยการเขียนสิ่งที่คิด และรู้สึกในขณะนั้นส่งต่อไปให้เพื่อนร่วมรับรู้ โดยลืมฉุกคิดไปว่า สิ่งที่ระบายออกไปอาจจะไม่ใช่ข้อความที่สมควรส่งต่อแต่อย่างใด และพอเรียกสติคืนกลับมาได้ ก็เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ทันซะแล้ว ฉะนั้นแทนที่เราจะส่งอีเมลระบายความโกรธ หรือโพสต์เฟซบุ๊กระงับอารมณ์ ก็เปลี่ยนเป็นเขียนไดอารี่เพื่อเรียกสมาธิ และสติอยู่ในโลกของตัวเองดีกว่า จะได้ไม่เป็นภาระต่อใครทั้งสิ้นนะจ๊ะ
     

     8. ดื่มแอลกอฮอล์ย้อมใจ
                
              ไม่ว่าจะเป็นตอนโกรธ​ หรืออกหักก็ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ด้วยประการทั้งปวงค่ะ เพราะในสภาวะที่พร้อมจะขาดสติแบบนี้ แอลกอฮอล์จะช่วยผลักดันให้คุณกล้าแสดงความบ้าบิ่นแบบไม่ยั้งคิดมากขึ้นไปอีก ดังนั้นแทนที่จะสงบเงียบ และปล่อยให้ความโกรธเจือจางไป ก็จะกลายเป็นสร้างวีรกรรมความโกรธเอาไว้ให้คนอื่นร่วมรับรู้ หรือบางครั้งอาจจะร้ายแรงถึงขั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เป็นตราบาปในใจที่คุณไม่อาจลืมได้ในชีวิตนี้เลยทีเดียว
     



     9. อย่าละเลยความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ
                
              โดยเฉพาะในรายที่มีประวัติ หรือความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจมาก่อน ในยามที่โกรธอาจจะต้องฉุกคิดถึงปัญหาสุขภาพในข้อนี้ของตัวเองด้วย เพราะโดยปกติแล้ว อารมณ์โกรธจะเร่งอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้ความดันโลหิตเราพุ่งสูงขึ้นราว ๆ 2 ชั่วโมง นับตั้งแต่เริ่มรู้สึกโกรธ ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าความโกรธจะผลักดันให้อาการเหล่านี้กำเริบ จนส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยตรง
     

     10. หมกมุ่นอยู่กับความโกรธ
                
              สำหรับคนที่ยิ่งโกรธก็ยิ่งย้อนไปคิดถึงต้นเหตุที่ทำให้รู้สึกโกรธ หรือความไม่ยุติธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับคุณ ขอบอกตรงนี้เลยค่ะว่า พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้คุณสงบลง หรือหายโกรธเลยสักนิด แต่ในทางกลับกันมันยิ่งทำให้คุณสะสมความคิดแค้น สร้างความหมกมุ่นกับความรู้สึกในแง่ลบเกินเหตุ จนในที่สุดก็แสดงออกมาทางสีหน้าท่าทาง เปลี่ยนคุณที่สดใสให้กลายเป็นคนที่มัวหมองไปด้วยความโกรธ ดับเสน่ห์และรัศมีในตัวคุณไปอย่างน่าเสียดาย
     
                          
              ตราบใดที่เรายังต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคม และโลกใบนี้ ก็แน่นอนว่าเราห้ามไม่ได้ที่จะเกิดอารมณ์โกรธขึ้นมาบ้าง แต่อย่างน้อยเราก็มีทางเลือกระบายอารมณ์ และระงับความโกรธไม่ให้พลุ่งพล่านจนยั้งไม่อยู่ได้นี่เนอะ



สุขภาพ

เทคนิคโพสต์ท่าให้ดูผอม แค่ขยับนิด ชีวิตก็เปลี่ยน ผอมลงเห็นๆ! article
ดูแลสุขภาพของลูกน้อยง่าย ๆ ด้วยอาหารเช้า
สารพัดวิธีรักษาไข้หวัดจากธรรมชาติ ดีจริงหรือไม่ เช็กด่วน
อาหารต้านมะเร็ง 5 ชนิด ทานป้องกันโรคร้าย
เคล็ดลับการดูแลผิว สำหรับทุก ๆ วัน article
10 สุดยอดเทคโนโลยีเพื่อความงาม
ขยี้ตาบ่อย ทำให้เกิดริ้วรอยจริงหรือ... ?
เทรนด์แต่งหน้า 2015 สไตล์ไหนมาแรง เช็กด่วน ! article
ผิวแห้ง กับพฤติกรรม 5 ข้อที่รู้แล้วเลี่ยงด่วน !
หลากข้อดีจาก เซ็กส์ ต่อสุขภาพที่ผู้ชายควรรู้
น้ำผึ้งล้างหน้าเวิร์คจริงป่ะ ? มาดูผลการทดลองกัน
แต่งหน้ารับปริญญาแบบไม่ง้อช่าง สวยด้วย ! ประหยัดด้วย !
ตะไคร้ กับ 3 ประโยชน์ที่ช่วยในเรื่องความงาม
น้ำนม กับ 5 คุณประโยชน์ช่วยผิวสวย
กินมะละกอผิวสวย สารพัดประโยชน์เนียนใสจากภายในสู่ภายนอก
มันฝรั่ง กับ 7 สูตรเด็ดบำรุงผิวพรรณและเส้นผม
เตรียมผิวพร้อมรับหน้าหนาว ด้วยหลายทริคสุดแจ๋ว article
กำจัดสิวแบบเร่งด่วน ด้วยวิธีธรรมชาติ article
7 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับอาหารที่คนลดความอ้วนหลงเชื่อ
ไปเล่นโยคะหัวเราะกันเถอะ!
ถุงยาง แบบที่คุณผู้ชายต้องลอง
โยเกิร์ต กับ 6 คุณประโยชน์ในด้านความงาม article
สธ. สั่งทุกโรงพยาบาลสำรองเซรุ่มแก้พิษงู 7 ชนิด ช่วงหน้าฝน article
อีโบลา เจาะลึกไวรัสมรณะที่โลกหวาดกลัว
สีแดงกับสมอง ความเชื่อมโยงอันน่าอัศจรรย์ที่คุณไม่เคยรู้
ประโยชน์ของน้ำมะนาว ดื่มอุ่น ๆ ยามเช้า ดีแค่ไหนต้องพิสูจน์
อยากลดน้ำหนัก แต่ติดขนมหวาน ทำไงดี
5 อาหารดี ๆ ที่กินเยอะไป ก็ไม่ดีได้เหมือนกัน
ดูฟุตบอลโลกอย่างไร ไม่ทำร้ายสุขภาพ article
ผื่นยอดฮิตที่พบบ่อยในฤดูฝน article
9 สูตรลดน้ำหนัก วิธีลดความอ้วน สำหรับสาวอยากผอม article
สธ. เตือนกินไข่แมงดาทะเลเผา-ยำหน้าร้อนเสี่ยงตาย
หลากวิตามินพิชิตเบาหวาน หยุดน้ำตาลพุ่งสูง ก่อนสายเกินแก้
เทคนิคกินผักให้อร่อย ทั้งปลอดภัย ทั้งได้คุณค่า
อยากอ่อนเยาว์ดื่มนมถั่วเหลืองสิ
ผลไม้ลดน้ำหนัก 13 ตัวช่วย อยากหุ่นสวยกระชับห้ามพลาด
วิ่ง เริ่มจากความพร้อม สู่เส้นทางสุขภาพดี
ร้อนนี้กินอย่างไร เย็นทั้งกาย สุขทั้งใจ article
วิธีไล่ยุงแบบธรรมชาติ ด้วยมาตรการปลอดภัย article
รู้หรือไม่ ยาคุมฉุกเฉิน กินพร้อมกัน2เม็ดได้ article
รักอย่างไร ถึงเรียกว่า รักเป็น article
‘วิ่ง’ เริ่มจากความพร้อม สู่เส้นทางสุขภาพดี
12 ไอเดียเปลี่ยนน้ำแข็งแนวใหม่ให้ไฉไลกว่าเดิม article
ขนมหวานไทย ๆ เลือกกินอะไร ไม่ให้แคลอรี่พุ่งปรี๊ด article
เปิดปีเริ่ด ๆ ด้วย 6 วิธีสู่ความแฮปปี้กว่าเดิม
เคล็ดลับดูแลสุขภาพให้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่
ใช้ชีวิตอย่างไร ให้หัวใจแข็งแรง
ร่างกาย-รถ-อุปกรณ์พร้อม...เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง article
วาซาบิความเผ็ดที่มีประโยชน์
ไวรัสโรต้า" ระบาดหน้าหนาว เสี่ยงท้องร่วงทุกวัย
กระเช้าปีใหม่ เลือกอย่างไร ให้ดีต่อสุขภาพคนรับ article
แนะหากเครียดควรปรับทุกข์กับคนใกล้ชิด
หยุดเอดส์! ต้องมองเรื่อง 'เพศ' อย่างเข้าใจ
6 ความเชื่อผิด ๆ เรื่องสุขภาพกับหน้าหนาว
3 ประโยชน์เลิศของโยเกิร์ต ไม่ได้โม้ !
ไม่ใช่วัยรุ่น ฮอร์โมนก็ป่วนได้นะ !
นอนดึกแก่ไว เรื่องจริงไม่ได้โม้ !!
แนะวิธีเลือกซื้อนมพร้อมดื่ม ป้องกันนมบูดก่อนบริโภค
ขับไล่ความเหนื่อยล้าด้วย 7 วิธีผ่อนคลายหลังเลิกงานของสาว ๆ
ความสวยยังเพิ่มได้ แล้วความสูงเพิ่มได้ไหม ?! article
ยาลดความอ้วนสูตรค็อกเทล อย. สั่งห้ามขาย ชี้อันตรายถึงชีวิต
เบต้าแคโรทีน เพื่อหัวใจและสุขภาพที่แข็งแรง
ใส่ใจการกินสักนิด พิชิตมะเร็งเต้านม
สธ. เตือน 6 โรคหน้าหนาว ระวังดื่มเหล้าคลายหนาว อันตรายถึงชีวิต article
เตือน ! ระวังป่วยโรคปอดบวม ช่วงปลายฝนต้นหนาว article
9 สุดยอดอาหารชวนให้ สดชื่น อารมณ์ดี article
9 เมนูฮิตครองใจคนทำงาน กินแบบไหนถึงสุขภาพดี article
กินดีรักษาสิวได้ ด้วยวิธีกินรักษาสิวให้หายใน 2 สัปดาห์
10 เคล็ดลับ...หลับปุ๋ย แก้ปัญหานอนไม่หลับ
พื้นที่ส่วนตัวของผู้หญิง...เรื่อง (ไม่) ลับที่คุณต้องรู้ !
8 ประโยชน์เจ๋ง ๆ จากเปลือกผักและผลไม้
เปลี่ยนกับข้าว ให้เป็นงานอาร์ตชั้นเอก ได้สุขภาพ article
สภากาชาดขาดเลือดด่วนช่วงน้ำท่วม article
อยู่พอเพียง บริโภคพอดี’ สู่ความมั่นคงทางอาหาร
แนะ 7 ขั้นตอนล้างมืออย่างถูกวิธี
หลักออกเจอย่างถูกวิธี ทานอาหารอย่างไรดีต่อสุขภาพ
สารพัดวิธีกินผักแบบเนียน ๆ อร่อยไม่ฝืนใจแถมได้ประโยชน์
ป้องกันและดูอาการเชื้อไวรัสชนิด A สายพันธุ์ H1N1
เคล็ดลับการถนอมดวงตาให้สวยสดใส
วิธีง่าย ๆ ในการเผาผลาญแคลอรีนอกยิม
เคล็ดลับการกินเพื่อให้มีรูปร่างเหมือนนายแบบ
'ผื่นภูมิแพ้-น้ำกัดเท้า' แก้ได้...แม้ 'ฝนตก'
โปรตีนเกษตรในอาหารเจรู้ไมทำมาจากอะไร
ปราบกลิ่นเท้าให้อยู่หมัด
รักษาอาการไอแบบไม่พึ่งยา ด้วยธรรมชาติบำบัด
สาธารณสุขชี้ คนไทยเตี้ย เพราะดื่นนมน้อย
ไอนานเกิน 2 สัปดาห์ สาเหตุมาจากหลายโรค
ยุคของแพง กินอย่างไร ได้ประโยชน์และสุขภาพดี
อึ้ง ! แท็บเล็ต-สมาร์ทโฟนเชื้อโรคอื้อ มากกว่าโถชักโครก 20 เท่า
ท้องอืดท้องเฟ้อบ่อยๆ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
ยิ่งเดิน ยิ่งดีต่อสุขภาพ
น้ำหนักควบคุมได้ ทำไมต้องพึ่งยาลดความอ้วน
เรื่องของยาแก้ไข้ ใช้ตัวไหนปลอดภัยที่สุด
โคเอนไซม์ คิว 10 กินกันไปทำไม?
ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ article
มือชา อาการไม่ธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นกับคุณ
4 สิ่งเหล่านี้...อาจไม่ดีต่อจุดซ่อนเร้นสาว ๆ นะจ๊ะ
ดื่มซะให้สวย กับ 5 เครื่องดื่มเพื่อผิวสวยใส สุขภาพดี
ผิวสวยด้วยการกิน กับ 10 อาหารเพิ่มความนุ่มสวยใส