ReadyPlanet.com
อีโบลา เจาะลึกไวรัสมรณะที่โลกหวาดกลัว

 อีโบลา เชื้อไวรัสมรณะที่คร่าชีวิตผู้คนในแอฟริกาตะวันตกไปแล้วหลายร้อยคน กับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ยังคงน่าเป็นห่วงและต้องจับตาเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โรคนี้กำเนิดอย่างไร ติดต่อได้ทางไหน และจะป้องกันตัวจากโรคอีโบลาได้อย่างไรบ้าง มาศึกษาไปพร้อมกันเลย 


    อีโบลา เชื้อไวรัสมรณะจากกาฬทวีป
     
    เชื้ออีโบลา ไวรัสมรณะจากกาฬทวีป

    ข่าวเชื้ออีโบลา ล่าสุด 

              สถานการณ์ผู้ป่วยโรคติดเชื้ออีโบลาในทวีปแอฟริกาตะวันตกยังคงอยู่ในภาวะวิกฤตและต้องอยู่ภายใต้การเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด โดยในตอนนี้มีการระบาดหนักในประเทศกินี (Guinea) ไลบีเรีย (Liberia) และเซียร์ราลีโอน (Sierra Leone) มีผู้เสียชีวิตแล้ว 660 ราย โดยการระบาดเกิดจากระบบสาธารณสุขที่ไม่ดีนัก มีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ญาติผู้ป่วยสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง สัมผัสศพด้วยมือเปล่า เป็นต้น

              โดยกรณีล่าสุดคือ ผู้ป่วยที่เดินทางไปกับเครื่องบินจากไลบีเรียแล้วไปเสียชีวิตที่ประเทศไนจีเรีย (อ่านข่าว ไนจีเรียคุมเข้ม รพ. ในลากอส หลังพบผู้ป่วยตายจากอีโบลารายแรก) และนายแพทย์จากเซียร์ราลีโอน ผู้รับได้การยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษในการต่อต้านเชื้อโรคอีโบลา เสียชีวิตลงเพราะติดเชื้อเสียเอง ยิ่งทำให้ตระหนักได้เป็นอย่างดีว่าโรคอีโบลานี้ร้ายแรงมาก อีกทั้งตอนนี้มีการประกาศเตือนจากแพทย์ของอังกฤษว่า ให้ทั่วโลกตื่นตัวในการเฝ้าระวัง เนื่องจากมีผู้ป่วยถูกปล่อยให้โดยสารเครื่องบินกับผู้โดยสารหลายสัญชาติ และผู้โดยสารที่เดินทางร่วมเที่ยวบินกับผู้ป่วยที่เสียชีวิตอาจเดินทางต่อไปยังประเทศต่าง ๆ (อ่านข่าว เตือนอีโบลาเสี่ยงระบาดทั่วโลก หลังผู้ป่วยโดยสารเครื่องบิน 2 ลำ) ยิ่งทำให้ต้องรีบตื่นตัว เฝ้าระวังโรคจากเชื้อไวรัสอีโบลากันมากขึ้น ฉะนั้น เราจึงขอนำข้อมูลของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลามาฝากกัน เพื่อความเข้าใจและแนวทางการปฏิบัติตัวในการรับมือโรคอย่างถูกต้องค่ะ 

    เชื้ออีโบลา
    ภาพประกอบจาก lindaikeji
     
    เชื้ออีโบลา คืออะไร

              เชื้อไวรัสอีโบลา เป็นกลุุ่มโรคไข้เลือดออกชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า "ซาร์อี อีไบลาไวรัส" (Zaire ebolavirus) ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามพื้นที่ที่พบว่ามีการระบาดของโรคเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 คือใกล้กับลุ่มแม่น้ำอีโบลา ในประเทศซาร์อี (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐคองโก) แต่อย่างไรก็ดี จนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถระบุแหล่งต้นตอที่เป็นรังของเชื้ออย่างแน่ชัดได้ 

              รูปร่างของเชื้อไวรัสอีโบลา หรือ EBOV VP30 (Ebola Virus VP30) มีลักษณะเป็นเส้นด้ายในกลุ่มฟิโลไวรัส เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 80 นาโนเมตร ยาวได้มากถึง 1,400 นาโนเมตร แบ่งออกเป็น 5 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ร้ายแรง ได้แก่  สายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี และสายพันธุ์บันดิบูเกียว

    เชื้ออีโบลา ระบาดอย่างไร

              การระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาหรือโรคไข้เลือดอีโบลา มีลักษณะแพร่เชื้อจากคนสู่คนผ่านทางการรับหรือสัมผัสของเหลวจากร่างกายผู้ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นเลือด น้ำลาย น้ำมูก เหงื่อ สารคัดหลั่งต่าง ๆ ตลอดจนเชื้ออสุจิ อย่างไรก็ดี ดังในข่าวที่มีการเตือนให้เฝ้าระวังผู้โดยสารที่เดินทางร่วมเครื่องบินกับผู้ป่วยไปนั้น ก็ยังถือได้ว่ามีโอกาสติดเชื้อต่ำ เนื่องจากเชื้ออีโบลาไม่ติดต่อกันทางอากาศที่หายใจร่วมกัน

    เชื้ออีโบลา แอฟริกาพบบ่อย

              การระบาดของเชื้ออีโบลาในแถบแอฟริการะลอกล่าสุดนี้ เริ่มระบาดจากบริเวณพื้นที่ห่างไกลในประเทศกินีเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก่อนที่เชื้อจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วจนถึงชายแดนของไลบีเรีย ตามมาด้วยเซียร์ราลีโอน กินี และเข้าสู่ภาวะการระบาดอย่างหนักในช่วงเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งโดยตลอด 2 เดือนนี้ มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนแตะที่อย่างน้อย 660 คน แม้ว่าเจ้าหน้าที่ได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการป้องกันและสกัดกั้นเชื้อโรคไม่ให้แพร่กระจายมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถยับยั้งการระบาดของเชื้อได้เลย 

    เชื้ออีโบลา
    ภาพประกอบจาก snippits-and-slappits

    เชื้ออีโบลา
    ภาพประกอบจาก emesv26

    เชื้ออีโบลา
    ภาพประกอบจาก snippits-and-slappits
    เชื้ออีโบลา อาการเป็นอย่างไร

              โรคอีโบลามีระยะฟักตัว 2-21 วัน โดยอาการสามารถแสดงได้ตั้งแต่วันแรกเริ่มจากมีไข้สูงเฉียบพลัน เริ่มจากมีไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั้งตัว เจ็บคอ ตามมาด้วยอาการท้องเสีย อาเจียน มีผื่นนูน มีเลือดออกตามเยื่อบุของร่างกาย เช่น เยื่อบุตา ภายในช่องปาก รวมทั้งเลือดออกที่อวัยวะภายใน มีอาการผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง การทำงานของตับและไตล้มเหลว ช็อก ผู้ติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 50%-90% 

              ทั้งนี้ อาการในระยะแรกเริ่มของโรคมีลักษณะคล้ายคลึงกับอาการป่วยด้วยโรคชนิดอื่น ๆ เช่น ไข้มาลาเรีย ท้องร่วง ไข้หวัด ไข้เลือดออกจากไวรัสอื่น ๆ ทำให้ระบุโรคได้ล่าช้า 

    เชื้ออีโบล่า
    ภาพประกอบจาก ทวิตเตอร์ @‏MorningNewsTV3

    เชื้ออีโบล่า
    ภาพประกอบจาก ทวิตเตอร์ @‏MorningNewsTV3

    เชื้ออีโบล่า
    ภาพประกอบจาก ทวิตเตอร์ @‏MorningNewsTV3
     


    เชื้ออีโบลา การรักษา 

              ในปัจจุบันยังคงไม่มีทั้งวัคซีนป้องกันและยารักษาเชื้ออีโบลาโดยเฉพาะ ทำได้เพียงรักษาไปตามอาการด้วยการให้น้ำและเกลือแร่ทดแทน รวมทั้งให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดในช่วงแรก เพื่อป้องกันเลือดจับเป็นลิ่มในหลอดเลือด จากนั้นจึงให้ยาช่วยการแข็งตัวของเลือดในระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการเลือดออก 

    เชื้ออีโบลา ในประเทศไทย 

              ในปัจจุบัน ยังคงไม่พบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลาในประเทศไทย และมีการวิเคราะห์โดยนายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เฉพาะด้านไวรัสคลินิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ว่า โอกาสที่เชื้อจะเข้ามาระบาดในเอเชียนั้นมีต่ำ เพราะผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วมักอยู่ในสภาพร่างกายอ่อนแอเกินกว่าจะเดินทางได้ การแพร่ระบาดข้ามทวีปจึงเกิดขึ้นได้น้อย  

    เชื้ออีโบลา
    ภาพประกอบจาก snippits-and-slappits
     
    มาตรการเฝ้าระวังเชื้ออีโบลา

              แม้ประเทศไทยจะมีความเสี่ยงในการพบเชื้อต่ำ แต่ในเบื้องต้นกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศ 3 มาตรการเฝ้าระวังโรคอีโบลามาแล้ว ดังนี้ 

              1. ให้สำนักระบาดวิทยาติดตามสถานการณ์โรคจากองค์การอนามัยโลก สาธารณสุขทุกจังหวัดเฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค 

              2. ให้โรงพยาบาลทุกแห่ง เข้มงวดต่อการรักษาผู้มีอาการต้องสงสัย โดยใช้มาตรการเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง เช่น ไข้หวัดนก ซาร์ส เป็นต้น 

              3. ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมความพร้อมห้องแล็บในการตรวจหาเชื้อ ซึ่งไทยได้รับความร่วมมือจากสหรัฐฯ ในการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสชนิดนี้ 

              สำหรับประชาชนทั่วไป ก็มีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้ออีโบลา คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าที่นำเข้ามาโดยไม่ผ่านการตรวจโรค เลี่ยงการรับประทานอาหารจากเนื้อสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะ ลิง ค้างคาว รวมทั้งเลี่ยงเมนูเปิบพิสดารอื่น ๆ และงดการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค ซึ่งขณะนี้ก็คือประเทศแถบแอฟริกาตะวันตกนั่นเอง



สุขภาพ

เทคนิคโพสต์ท่าให้ดูผอม แค่ขยับนิด ชีวิตก็เปลี่ยน ผอมลงเห็นๆ! article
ดูแลสุขภาพของลูกน้อยง่าย ๆ ด้วยอาหารเช้า
สารพัดวิธีรักษาไข้หวัดจากธรรมชาติ ดีจริงหรือไม่ เช็กด่วน
อาหารต้านมะเร็ง 5 ชนิด ทานป้องกันโรคร้าย
เคล็ดลับการดูแลผิว สำหรับทุก ๆ วัน article
10 สุดยอดเทคโนโลยีเพื่อความงาม
ขยี้ตาบ่อย ทำให้เกิดริ้วรอยจริงหรือ... ?
เทรนด์แต่งหน้า 2015 สไตล์ไหนมาแรง เช็กด่วน ! article
ผิวแห้ง กับพฤติกรรม 5 ข้อที่รู้แล้วเลี่ยงด่วน !
หลากข้อดีจาก เซ็กส์ ต่อสุขภาพที่ผู้ชายควรรู้
น้ำผึ้งล้างหน้าเวิร์คจริงป่ะ ? มาดูผลการทดลองกัน
แต่งหน้ารับปริญญาแบบไม่ง้อช่าง สวยด้วย ! ประหยัดด้วย !
ตะไคร้ กับ 3 ประโยชน์ที่ช่วยในเรื่องความงาม
น้ำนม กับ 5 คุณประโยชน์ช่วยผิวสวย
กินมะละกอผิวสวย สารพัดประโยชน์เนียนใสจากภายในสู่ภายนอก
มันฝรั่ง กับ 7 สูตรเด็ดบำรุงผิวพรรณและเส้นผม
เตรียมผิวพร้อมรับหน้าหนาว ด้วยหลายทริคสุดแจ๋ว article
กำจัดสิวแบบเร่งด่วน ด้วยวิธีธรรมชาติ article
7 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับอาหารที่คนลดความอ้วนหลงเชื่อ
ไปเล่นโยคะหัวเราะกันเถอะ!
ถุงยาง แบบที่คุณผู้ชายต้องลอง
โยเกิร์ต กับ 6 คุณประโยชน์ในด้านความงาม article
สธ. สั่งทุกโรงพยาบาลสำรองเซรุ่มแก้พิษงู 7 ชนิด ช่วงหน้าฝน article
สีแดงกับสมอง ความเชื่อมโยงอันน่าอัศจรรย์ที่คุณไม่เคยรู้
ประโยชน์ของน้ำมะนาว ดื่มอุ่น ๆ ยามเช้า ดีแค่ไหนต้องพิสูจน์
อยากลดน้ำหนัก แต่ติดขนมหวาน ทำไงดี
5 อาหารดี ๆ ที่กินเยอะไป ก็ไม่ดีได้เหมือนกัน
ดูฟุตบอลโลกอย่างไร ไม่ทำร้ายสุขภาพ article
ผื่นยอดฮิตที่พบบ่อยในฤดูฝน article
โกรธเมื่อไร หลีกให้ไกล 10 พฤติกรรมนี้
9 สูตรลดน้ำหนัก วิธีลดความอ้วน สำหรับสาวอยากผอม article
สธ. เตือนกินไข่แมงดาทะเลเผา-ยำหน้าร้อนเสี่ยงตาย
หลากวิตามินพิชิตเบาหวาน หยุดน้ำตาลพุ่งสูง ก่อนสายเกินแก้
เทคนิคกินผักให้อร่อย ทั้งปลอดภัย ทั้งได้คุณค่า
อยากอ่อนเยาว์ดื่มนมถั่วเหลืองสิ
ผลไม้ลดน้ำหนัก 13 ตัวช่วย อยากหุ่นสวยกระชับห้ามพลาด
วิ่ง เริ่มจากความพร้อม สู่เส้นทางสุขภาพดี
ร้อนนี้กินอย่างไร เย็นทั้งกาย สุขทั้งใจ article
วิธีไล่ยุงแบบธรรมชาติ ด้วยมาตรการปลอดภัย article
รู้หรือไม่ ยาคุมฉุกเฉิน กินพร้อมกัน2เม็ดได้ article
รักอย่างไร ถึงเรียกว่า รักเป็น article
‘วิ่ง’ เริ่มจากความพร้อม สู่เส้นทางสุขภาพดี
12 ไอเดียเปลี่ยนน้ำแข็งแนวใหม่ให้ไฉไลกว่าเดิม article
ขนมหวานไทย ๆ เลือกกินอะไร ไม่ให้แคลอรี่พุ่งปรี๊ด article
เปิดปีเริ่ด ๆ ด้วย 6 วิธีสู่ความแฮปปี้กว่าเดิม
เคล็ดลับดูแลสุขภาพให้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่
ใช้ชีวิตอย่างไร ให้หัวใจแข็งแรง
ร่างกาย-รถ-อุปกรณ์พร้อม...เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง article
วาซาบิความเผ็ดที่มีประโยชน์
ไวรัสโรต้า" ระบาดหน้าหนาว เสี่ยงท้องร่วงทุกวัย
กระเช้าปีใหม่ เลือกอย่างไร ให้ดีต่อสุขภาพคนรับ article
แนะหากเครียดควรปรับทุกข์กับคนใกล้ชิด
หยุดเอดส์! ต้องมองเรื่อง 'เพศ' อย่างเข้าใจ
6 ความเชื่อผิด ๆ เรื่องสุขภาพกับหน้าหนาว
3 ประโยชน์เลิศของโยเกิร์ต ไม่ได้โม้ !
ไม่ใช่วัยรุ่น ฮอร์โมนก็ป่วนได้นะ !
นอนดึกแก่ไว เรื่องจริงไม่ได้โม้ !!
แนะวิธีเลือกซื้อนมพร้อมดื่ม ป้องกันนมบูดก่อนบริโภค
ขับไล่ความเหนื่อยล้าด้วย 7 วิธีผ่อนคลายหลังเลิกงานของสาว ๆ
ความสวยยังเพิ่มได้ แล้วความสูงเพิ่มได้ไหม ?! article
ยาลดความอ้วนสูตรค็อกเทล อย. สั่งห้ามขาย ชี้อันตรายถึงชีวิต
เบต้าแคโรทีน เพื่อหัวใจและสุขภาพที่แข็งแรง
ใส่ใจการกินสักนิด พิชิตมะเร็งเต้านม
สธ. เตือน 6 โรคหน้าหนาว ระวังดื่มเหล้าคลายหนาว อันตรายถึงชีวิต article
เตือน ! ระวังป่วยโรคปอดบวม ช่วงปลายฝนต้นหนาว article
9 สุดยอดอาหารชวนให้ สดชื่น อารมณ์ดี article
9 เมนูฮิตครองใจคนทำงาน กินแบบไหนถึงสุขภาพดี article
กินดีรักษาสิวได้ ด้วยวิธีกินรักษาสิวให้หายใน 2 สัปดาห์
10 เคล็ดลับ...หลับปุ๋ย แก้ปัญหานอนไม่หลับ
พื้นที่ส่วนตัวของผู้หญิง...เรื่อง (ไม่) ลับที่คุณต้องรู้ !
8 ประโยชน์เจ๋ง ๆ จากเปลือกผักและผลไม้
เปลี่ยนกับข้าว ให้เป็นงานอาร์ตชั้นเอก ได้สุขภาพ article
สภากาชาดขาดเลือดด่วนช่วงน้ำท่วม article
อยู่พอเพียง บริโภคพอดี’ สู่ความมั่นคงทางอาหาร
แนะ 7 ขั้นตอนล้างมืออย่างถูกวิธี
หลักออกเจอย่างถูกวิธี ทานอาหารอย่างไรดีต่อสุขภาพ
สารพัดวิธีกินผักแบบเนียน ๆ อร่อยไม่ฝืนใจแถมได้ประโยชน์
ป้องกันและดูอาการเชื้อไวรัสชนิด A สายพันธุ์ H1N1
เคล็ดลับการถนอมดวงตาให้สวยสดใส
วิธีง่าย ๆ ในการเผาผลาญแคลอรีนอกยิม
เคล็ดลับการกินเพื่อให้มีรูปร่างเหมือนนายแบบ
'ผื่นภูมิแพ้-น้ำกัดเท้า' แก้ได้...แม้ 'ฝนตก'
โปรตีนเกษตรในอาหารเจรู้ไมทำมาจากอะไร
ปราบกลิ่นเท้าให้อยู่หมัด
รักษาอาการไอแบบไม่พึ่งยา ด้วยธรรมชาติบำบัด
สาธารณสุขชี้ คนไทยเตี้ย เพราะดื่นนมน้อย
ไอนานเกิน 2 สัปดาห์ สาเหตุมาจากหลายโรค
ยุคของแพง กินอย่างไร ได้ประโยชน์และสุขภาพดี
อึ้ง ! แท็บเล็ต-สมาร์ทโฟนเชื้อโรคอื้อ มากกว่าโถชักโครก 20 เท่า
ท้องอืดท้องเฟ้อบ่อยๆ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
ยิ่งเดิน ยิ่งดีต่อสุขภาพ
น้ำหนักควบคุมได้ ทำไมต้องพึ่งยาลดความอ้วน
เรื่องของยาแก้ไข้ ใช้ตัวไหนปลอดภัยที่สุด
โคเอนไซม์ คิว 10 กินกันไปทำไม?
ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ article
มือชา อาการไม่ธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นกับคุณ
4 สิ่งเหล่านี้...อาจไม่ดีต่อจุดซ่อนเร้นสาว ๆ นะจ๊ะ
ดื่มซะให้สวย กับ 5 เครื่องดื่มเพื่อผิวสวยใส สุขภาพดี
ผิวสวยด้วยการกิน กับ 10 อาหารเพิ่มความนุ่มสวยใส